งาน บทที่.3

โจทย์
1. ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิกแบ่งได้กี่วิธี อะไรบ้าง
2. จงเรียงลำดับโครงสร้างข้อมูลจากขนาดเล็กไปใหญ่พร้อมอธิบายความหมายของโครงสร้างข้อมูลแต่ละแบบ
3. ให้ออกแบบแฟ้มข้อมูลจำนวน 1 ชุดโดยกำหนด Field Record ตามเหมะสม
4. จงอธิบายความแตกต่างระหว่างกราประมวลผลข้อมูลแบบแบชและแบบเรียลไทม์

-ประเภทของการประมวลผลข้อมูล แบ่งตามลักษณะของอุปกรณ์ที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล ได้เป็น 3 ลักษณะ คือ

       การประมวลผลด้วยมือ (Manual Data Processing) เป็นวิธีการที่ใช้มาตั้งแต่อดีต
โดยการนำอุปกรณ์ง่ายๆ มาช่วยในการคำนวณ เช่น ลูกคิด ปากกา ดินสอ เป็นต้น การประมวลผลแบบนี้เหมาะกับการคำนวณที่ไม่ ยุ่งยากซับซ้อน ซึ่งมักพบในธุรกิจขนาดเล็กที่มีปริมาณข้อมูลไม่มากนัก
      การประมวลผลด้วยเครื่องจักรกล(Mechanical Data Processing) ป็นวิวัฒนาการมาจากการประมวลผลด้วยมือ แต่ยังต้องอาศัยแรงงานคนในการทำงานร่วมกับเครื่องจักรกลในการประมวลผล เช่น เครื่องทำบัญชี (Accounting machine) เครื่องเจาะบัตร เครื่องเรียงบัตร เครื่องแปลข้อมูล เครื่องตรวจทานบัตร เป็นต้น
      การประมวลผลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Processing : EDP) หมายถึงการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการประมวลผล ส่วนใหญ่มักจะใช้ กับข้อมูลที่มีปริมาณมาก ต้องการความถูกต้องรวดเร็ว รวมทั้งงานที่มีการประมวลผลที่ี่ยุ่งยากซับซ้อน  การนำเอาคอมพิวเตอร์ซึ่งประกอบไปด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จำนวนมากมาย มาใช้ในการประมวลผลข้อมูลกำลังเป็นที่นิยมและได้รับความเชื่อถืออย่างมากในปัจจุบันชึ่งเราอาจเรียกการประมวลผลโดยใช้คอมพิวเตอร์นี้ว่า การประมวลผลข้อมูลแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Processing: EDP) เนื่องจากคอมพิวเตอร์สามารถประมวลผลข้อมูลจำนวนมาก และให้ผลลัพธ์อย่างรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ ซึ่งนับเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินธุรกิจและระบบงานที่ต้องอาศัยข้อมูลในการวิเคราะห์ อ้างอิง และตัดสินใจ รวมทั้งโปรแกรมระบบงานต่างๆ ก็ได้รับการพัฒนาเพื่อรองรับการประมวลผลจำนวนมากได้อย่างมีประสิทธิภาพ

-ลำดับโครงสร้างข้อมูลจากขนาดเล็กไปใหญ่

 1. บิต(Bit) หน่วยที่เล็กที่สุดของข้อมูล เลขฐาน 2 คือ 0,1
 2. ไบต์(Byte) การนำบิตมารวมกัน เรียกว่า ตัวอักขระ,ตัวอักษร เป็นการนำบิตหลาย ๆ บิตมาเรียงต่อรวมกันเพื่อกำหนดค่าได้มากขึ้น เช่น 3 บิต มาต่อเรียงกันจะทำให้เกิดสถานะที่ต่างกันคือ 000,001,010,100,011,010, และ 111 ก็จะได้เป็น 8 สถานะ เมื่อนำบิตมาเรียงต่อรวมกันเป็น 8 บิต เรียกว่าไบต์ มี 256 สถานะ และกำหนดเป็นโครงสร้างข้อมูลที่มีขนาดเล็กที่สุดที่ใช้งานได้ มีค่าตั้งแต่ 0 – 255 (00000000 – 11111111)
 3.  ฟิ ลด์(Field) การนำไบต์หลาย ๆ ไปมารวมกัน เรียกว่า เขตข้อมูล
 4.  เรคอร์ด(Record)  การนำฟิลด์หลาย ๆ ฟิลด์มารวมกัน เรียกว่าระเบียน
 5.  ไฟล์(File) การเรคอร์ดหลาย ๆ เรคอร์ดมารวมกัน เรียกว่าแฟ้มข้อมูล
 6.  ฐานข้อมูล(Database)  การนำไฟล์หลาย ๆ ไฟล์มารวมกัน เรียกว่า ฐานข้อมูล

ออกแบบแฟ้มข้อมูลจำนวน 1 ชุด 
















-ความแตกต่างระหว่างกราประมวลผลข้อมูลแบบแบชและแบบเรียลไทม์

การประมวลผลแบบกลุ่ม (Batch Processing) รวบรวมข้อมูล และแบ่งแยกข้อมูลออกเป็นกลุ่ม ๆ แล้วจึงส่งเครื่องคอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลครั้งเดียวจะไม่มีการโต้ตอบกันระหว่างผูใช้้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์
ตัวอย่างเช่น ระบบลงทะเบียนของนักเรียน
     1.  นักเรียนทุกคนทำการกรอกแบบฟอร์มการลงทะเบียน
     2.  ฝ่ายทะเบียน ทำการรวบรวมการลงทะเบียน
     3.  ป้อนข้อมูลจากใบลงทะเบียนทั้งหมด เก็บไว้ในแผ่นดิสเก็ต
     4.  ทำการประมวลผลข้อมูลโดยใช้แผ่นดิสเก็ต
     5.  จัดทำรายงานต่าง ๆ เพื่อส่งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
        วิธีการประมวลผลแบบเวลาจริง   ( Real Time Processing )
การประมวลผลที่เมื่อทำการส่งข้อมูลเข้าไปในคอมพิวเตอร์ แล้วจะได้ผลลัพธ์ออกมาทันทีแสดงผลข้อมูลทันทีทันใด โดยแสดงผลทาง Output เช่น การใช้บริการบัตรเครดิตตามห้างร้านต่าง ๆ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น